วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วย 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บุคคลสำคัญ
กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย 
          เนื่องจากภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาทองถิ่นต่างมีความสัมพันธ์และมีความเชื่อมโยงกันลักษณะการถ่ายทอดจึงมีลักษณะดังนี้
          1. การถ่ายทอดด้วยวิธีการผ่านทางกิจกรรมอย่างง่าย ๆ เช่น การละเล่น การเล่านิทาน การทายปริศนา ซึ่งมักเป็นวิธีที่ใช้เด็ก มักมุ่งเน้นในเรื่องของจริยธรรม
          2. วิธีการบอกเล่าหรือเล่าผ่านทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีกรรมทางศาสนา พิธีการแต่งงาน พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมของท้องถิ่นต่าง ๆ หรือการลงมือประกอบอาชีพตามแบบอย่างบรรพบุรุษ
          3. การถ่ายทอดในรูปแบบของการบันเทิง เป็นการสอดแทรกในเนื้อหาื คำร้องของการแสดงต่าง ๆ เช่น ลิเก โนรา หนังตะลุง หมอรำ ซึ่งมักกล่าวถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ธรรมเนียม ประเพณี คติคำสอน อาชีพ
จารีตประเพณี เป็นต้น
          4. การถ่ายทอดเป้นลายลักษณ์อักษร ในอดีตมีการจารโลงบนใบลาน และเขียนลงในสมุดข่อย ส่วนในยุคปัจจุบันจะถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
         สรุปได้ดังนี้
         1. ให้ความยกย่องครูภูมิปัญญาไทย
         2. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก
         3. จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา
         4. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน
         5. ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ
         6. จัดตั้งสถาบันเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ให้ภูมิปัญญาไทยเป็นสถาบันของชาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ให้บุคคล ทั่วไปได้มีความรู้
         7. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งระดับชาติและระดับโลก
ระดับชาติ ประกาศการย่องย่อยเชิดชูเกียรติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ คนดีศรีสังคม บุคคลตัวอย่าง ในสาขาอาชีพต่างเป็นต้น

      ระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2505)
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ (2506)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (2511)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2524)
สุนทรภู่ (2529) 
พระยาอนุมานราชธน (2531)
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (2533)
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2534)
พระมหิดลลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (2535)
สมเด็จพระศรีนครินราบรมราชชนนี (2543)

กุหลาบสายประดิษฐ์ (2548)
พระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ (2549) 

ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิลัย
 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
(ของประเทศไทย)
นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง

(ดนตรีพื้นบ้าน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น