วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วย 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บุคคลสำคัญ
กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย 
          เนื่องจากภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาทองถิ่นต่างมีความสัมพันธ์และมีความเชื่อมโยงกันลักษณะการถ่ายทอดจึงมีลักษณะดังนี้
          1. การถ่ายทอดด้วยวิธีการผ่านทางกิจกรรมอย่างง่าย ๆ เช่น การละเล่น การเล่านิทาน การทายปริศนา ซึ่งมักเป็นวิธีที่ใช้เด็ก มักมุ่งเน้นในเรื่องของจริยธรรม
          2. วิธีการบอกเล่าหรือเล่าผ่านทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีกรรมทางศาสนา พิธีการแต่งงาน พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมของท้องถิ่นต่าง ๆ หรือการลงมือประกอบอาชีพตามแบบอย่างบรรพบุรุษ
          3. การถ่ายทอดในรูปแบบของการบันเทิง เป็นการสอดแทรกในเนื้อหาื คำร้องของการแสดงต่าง ๆ เช่น ลิเก โนรา หนังตะลุง หมอรำ ซึ่งมักกล่าวถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ธรรมเนียม ประเพณี คติคำสอน อาชีพ
จารีตประเพณี เป็นต้น
          4. การถ่ายทอดเป้นลายลักษณ์อักษร ในอดีตมีการจารโลงบนใบลาน และเขียนลงในสมุดข่อย ส่วนในยุคปัจจุบันจะถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
         สรุปได้ดังนี้
         1. ให้ความยกย่องครูภูมิปัญญาไทย
         2. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก
         3. จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา
         4. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน
         5. ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ
         6. จัดตั้งสถาบันเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ให้ภูมิปัญญาไทยเป็นสถาบันของชาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ให้บุคคล ทั่วไปได้มีความรู้
         7. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งระดับชาติและระดับโลก
ระดับชาติ ประกาศการย่องย่อยเชิดชูเกียรติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ คนดีศรีสังคม บุคคลตัวอย่าง ในสาขาอาชีพต่างเป็นต้น

      ระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2505)
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ (2506)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (2511)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2524)
สุนทรภู่ (2529) 
พระยาอนุมานราชธน (2531)
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (2533)
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2534)
พระมหิดลลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (2535)
สมเด็จพระศรีนครินราบรมราชชนนี (2543)

กุหลาบสายประดิษฐ์ (2548)
พระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ (2549) 

ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิลัย
 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
(ของประเทศไทย)
นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง

(ดนตรีพื้นบ้าน)

หน่วย 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มามีส่วนร่วมกันเถอะ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร เครื่องดื่ม
สังคมไทยมีความอุดมสมบรูณ์ บรรพบุรุษได้จัดรูปแบบอาหารได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

และสภาพของสังคมในแต่ละภาค ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ 
1. ภาคกลาง อาหารของงภาคกลางเช่นน้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม เป็นต้น
2. ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกอ่อง ขนมจจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ เป็นต้น
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เช่นส้มตำ ปลาร้า น้ำตก ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ ข้าวเหนียว เป็นต้น
 4. ภาคใต้ เช่นข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ เป็นต้น
ด้านขนมไทย เป็นภูมิปัญญาไทย โดยคำว่า "ขนม" มาจากคำว่า "ข้าวหนม"


ข้าวหนม เป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาล คำว่า "หนม" แปลว่า หวาน เมื่อรวมคำแล้ว ข้าวหนม จึงหมายถึงข้าวหวาน ต่อมาเสียงสั้นลงเป็น "ขนม" ขนมไทย ในสมัยโบราณ มีส่วนผสมมาจากแป้งและน้ำตาล ต่อมา ในสมัยพระสมเด้จพระนารายณ์มหาราชจึงเริ่มมีการทำขนมที่มีส่วนผสมของไข่ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น และในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ ดัดแปลงจนทำให้มีขนมไทยหลายหลายชนิด ผลไม้ มีตลอดทั้งปี ทานได้ทุกฤดูกาล สมุนไพร สมุนไพรของไทยหลายหลากชนิดสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น ใบเตบ ตะไคร้ มะตูม กระเจี๊ยบ ขิง ดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะให้สรรพคุณแตกต่างกันไป อาทิเช่น น้ำขิง ช่วยขับลม น้ำกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสาวะ น้ำมะตูมทำให้เจริญอาหาร และบำรุงธาตุ เป็นต้น ปัจจุบันมีปผู้นิยมดื่มน้ำสุนไพรกันมาก เพราะทำให้สุขภาพดี และมีราคาถูก ถ้านักศึกษาสนใจสรรพคุณของสมุนไพรอื่น ๆ หาได้จากหนังสือความรู้ด้านสมุนไพรที่มีอยู่มากมายและหลากหลาย 
ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย
บรรพบุรุษไทยได้สั่งสมภูมิปัญญาจากกระบวนการเรียนรู้ ทดลองพัฒนาจากธรรมชาติจนสามารถผลิต เส้นใยผ้า อุปกรณ์การทอผ้า ตลอดจนการย้อมผ้าให้มีสีสันที่สวยงามจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายที่มีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน เช่น
ต้นคราม ให้สีฟ้าอ่อน หรือสีคราม
ขี้ครั่ง ให้สีแดง
แก่นขนุน ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล
ลูกมะเกลือ ให้สีเทา น้ำตาล จนถึงดำ
ยอป่า ให้สีแดง
เข ให้สีเหลือง
ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย
1. บ้านเรือนภาคกลาง    
แบ่งเป้น 2 ลักษณะคือ 
- เรือนเครื่องผูก เ้ป็นเรือนที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติ เช่นไม้ไผ่ จาก หญ้าคา ยึดโครงด้วยตอก 
รือเส้นหวาย ซึ่งมีอายุใช้งานไม่มากนัก
- เรือนเครื่องสับ สร้างด้วยวัสดุไม้เนื้อแข็งยึดโครงด้วยการเข้าเดิอย บางส่วน บางส่วนอาจยึดด้วยโลหะ ลักษณะโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมของการปลูกเรือนไทยภาคกลาง
1. มักเป็นชุมชนที่อยู่ริมน้ำและที่ราบ บ้านมีลักษณะใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม
2. หลังคาจั่วสูง ชายคายื่นยาว เพื่อบรรเทาอากาศร้อน ทำให้เย็นสบาย
3. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ใช้หญ้าคา จาก ไม้ กระเบื้องดินเผา เพื่อกันความร้อน
4. ลักษณะบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นครอบครัวใหญ่

2. บ้านเรือนภาคเหนือ
เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้

1. เพราะอากาศหนาวเย็น การปลูกเรือน จะวางตัวเรือนขวางตะวัน หันด้านกว้่างที่เป็นจั่วในแนวเหนือ-ใต้เพื่อให้บ้านได้รับแสงแดดเพื่อความอบอุ่น
2. ความเชื่อผีบรรพบุรุษ จึงมีการแบ่งพื้นที่เรือนส่วนใน (ห้องนอน) ตั้งหิ้งบูชาผีปู่ย่าและห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า
3. คนภายนอกเข้าออกได้เฉพาะส่วนนอกได้เฉพาะส่วนนอก เช่น ชานครัว เพราะ ถ้าละเมิดถือว่าเป็นการผิดผี 
3. บ้านเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น การปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้
1. ทำเลที่ตั้งของบ้านที่แตกต่างกัน เช่น ที่ราบลุ่ม ที่ดอน ไกล้ป่าละเมาะ หรือ บางแห่งใกล้แหล่งน้ำบางพื้นที่แห้งแล้ง การปลูกเรือนจึงมีหลายตามพื้นที่ที่สร้างบ้านและประโยชน์การใช้สอย
2. ความเชื่อ เช่น ห้ามถมหรือปลูกเรือนทับบ่อน้ำที่ขุดไว้เช่นใช้ร่วมกันห้ามปลูกเรือนทับตอไม้หรือปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ทับหนองน้ำเพราะจะนำความล่มจมมาสู่เจ้าของเรือน 
4. บ้านเรือนภาคใต้        
 เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุก ทำให้ดินทรุดต้วง่าย ลักษณะบ้านจึงเป็นดังนี้
1. ภาคใต้ลักษระอากาสมีฝนตกชุก มีลมและลมแรงตลอดปี บ้านเรื้องจึงมักมีหลังคา เตี้ยลาดชันเป็นการลดการประทะของแรงลม เมื่อฝนตกจะทำให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นจะทำให้หลังคาแห้งไวด้วย
2.ฝาเรือนเป็นไม้กระดานตีเกล็ดในแนวนอน เพื่อลดแรงต้านของลม
3.เป็นเรือนใต้ถุนสูงเสาบ้านไม่ฝังลงดินเพราะดินทรุดง่ายจึงใช้วิธีหล่อซีเมนต์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าเสาปกติความสูงประมาณ 3 ฟุตเพื่อวางเสาเรียกว่า"ตีนเสา"นอกจากนี้ยังป้องกันปลวกและเชื้อราด้วย
4. ลักษณะพิเศษ เรือนภาคใต้สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในพื้นที่อื่น ๆ ได้โดย ไม่ต้องรื้อ หรือถอดส่วนประกอบของเรือนอก

หน่วย 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม
วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
 1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                    2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก


                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพ
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

หน่วย 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภูมิปัญญาไทย

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
           ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย ได้แก่ ประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุสถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น 

ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญดังนี้

1. ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น 
    พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อน
ก็สามารถตีระฆังแสดงความเดือดร้อนเพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์
ต่อประเทศชาติ ร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น
     สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติ หลายครั้งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกรทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา สมดังพระราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญาในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์


 2. สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย 
    คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลก ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
     ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูดใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น       


3.สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม 
    คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อน-น้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอมรักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา และเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.)


4. สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
    ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคมและธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย 12 เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงเป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำในฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็นจึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติทั้งสิ้น
     ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
     อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกินแบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกินก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรักนับถือ เป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิดกับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ


5. เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย        
    แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่นกลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้


ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยไว้ ดังนี้
1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา
2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่