วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วย 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มามีส่วนร่วมกันเถอะ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร เครื่องดื่ม
สังคมไทยมีความอุดมสมบรูณ์ บรรพบุรุษได้จัดรูปแบบอาหารได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

และสภาพของสังคมในแต่ละภาค ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ 
1. ภาคกลาง อาหารของงภาคกลางเช่นน้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม เป็นต้น
2. ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกอ่อง ขนมจจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ เป็นต้น
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เช่นส้มตำ ปลาร้า น้ำตก ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ ข้าวเหนียว เป็นต้น
 4. ภาคใต้ เช่นข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ เป็นต้น
ด้านขนมไทย เป็นภูมิปัญญาไทย โดยคำว่า "ขนม" มาจากคำว่า "ข้าวหนม"


ข้าวหนม เป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาล คำว่า "หนม" แปลว่า หวาน เมื่อรวมคำแล้ว ข้าวหนม จึงหมายถึงข้าวหวาน ต่อมาเสียงสั้นลงเป็น "ขนม" ขนมไทย ในสมัยโบราณ มีส่วนผสมมาจากแป้งและน้ำตาล ต่อมา ในสมัยพระสมเด้จพระนารายณ์มหาราชจึงเริ่มมีการทำขนมที่มีส่วนผสมของไข่ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น และในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ ดัดแปลงจนทำให้มีขนมไทยหลายหลายชนิด ผลไม้ มีตลอดทั้งปี ทานได้ทุกฤดูกาล สมุนไพร สมุนไพรของไทยหลายหลากชนิดสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น ใบเตบ ตะไคร้ มะตูม กระเจี๊ยบ ขิง ดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะให้สรรพคุณแตกต่างกันไป อาทิเช่น น้ำขิง ช่วยขับลม น้ำกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสาวะ น้ำมะตูมทำให้เจริญอาหาร และบำรุงธาตุ เป็นต้น ปัจจุบันมีปผู้นิยมดื่มน้ำสุนไพรกันมาก เพราะทำให้สุขภาพดี และมีราคาถูก ถ้านักศึกษาสนใจสรรพคุณของสมุนไพรอื่น ๆ หาได้จากหนังสือความรู้ด้านสมุนไพรที่มีอยู่มากมายและหลากหลาย 
ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย
บรรพบุรุษไทยได้สั่งสมภูมิปัญญาจากกระบวนการเรียนรู้ ทดลองพัฒนาจากธรรมชาติจนสามารถผลิต เส้นใยผ้า อุปกรณ์การทอผ้า ตลอดจนการย้อมผ้าให้มีสีสันที่สวยงามจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายที่มีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน เช่น
ต้นคราม ให้สีฟ้าอ่อน หรือสีคราม
ขี้ครั่ง ให้สีแดง
แก่นขนุน ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล
ลูกมะเกลือ ให้สีเทา น้ำตาล จนถึงดำ
ยอป่า ให้สีแดง
เข ให้สีเหลือง
ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย
1. บ้านเรือนภาคกลาง    
แบ่งเป้น 2 ลักษณะคือ 
- เรือนเครื่องผูก เ้ป็นเรือนที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติ เช่นไม้ไผ่ จาก หญ้าคา ยึดโครงด้วยตอก 
รือเส้นหวาย ซึ่งมีอายุใช้งานไม่มากนัก
- เรือนเครื่องสับ สร้างด้วยวัสดุไม้เนื้อแข็งยึดโครงด้วยการเข้าเดิอย บางส่วน บางส่วนอาจยึดด้วยโลหะ ลักษณะโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมของการปลูกเรือนไทยภาคกลาง
1. มักเป็นชุมชนที่อยู่ริมน้ำและที่ราบ บ้านมีลักษณะใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม
2. หลังคาจั่วสูง ชายคายื่นยาว เพื่อบรรเทาอากาศร้อน ทำให้เย็นสบาย
3. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ใช้หญ้าคา จาก ไม้ กระเบื้องดินเผา เพื่อกันความร้อน
4. ลักษณะบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นครอบครัวใหญ่

2. บ้านเรือนภาคเหนือ
เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้

1. เพราะอากาศหนาวเย็น การปลูกเรือน จะวางตัวเรือนขวางตะวัน หันด้านกว้่างที่เป็นจั่วในแนวเหนือ-ใต้เพื่อให้บ้านได้รับแสงแดดเพื่อความอบอุ่น
2. ความเชื่อผีบรรพบุรุษ จึงมีการแบ่งพื้นที่เรือนส่วนใน (ห้องนอน) ตั้งหิ้งบูชาผีปู่ย่าและห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า
3. คนภายนอกเข้าออกได้เฉพาะส่วนนอกได้เฉพาะส่วนนอก เช่น ชานครัว เพราะ ถ้าละเมิดถือว่าเป็นการผิดผี 
3. บ้านเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น การปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้
1. ทำเลที่ตั้งของบ้านที่แตกต่างกัน เช่น ที่ราบลุ่ม ที่ดอน ไกล้ป่าละเมาะ หรือ บางแห่งใกล้แหล่งน้ำบางพื้นที่แห้งแล้ง การปลูกเรือนจึงมีหลายตามพื้นที่ที่สร้างบ้านและประโยชน์การใช้สอย
2. ความเชื่อ เช่น ห้ามถมหรือปลูกเรือนทับบ่อน้ำที่ขุดไว้เช่นใช้ร่วมกันห้ามปลูกเรือนทับตอไม้หรือปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ทับหนองน้ำเพราะจะนำความล่มจมมาสู่เจ้าของเรือน 
4. บ้านเรือนภาคใต้        
 เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุก ทำให้ดินทรุดต้วง่าย ลักษณะบ้านจึงเป็นดังนี้
1. ภาคใต้ลักษระอากาสมีฝนตกชุก มีลมและลมแรงตลอดปี บ้านเรื้องจึงมักมีหลังคา เตี้ยลาดชันเป็นการลดการประทะของแรงลม เมื่อฝนตกจะทำให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นจะทำให้หลังคาแห้งไวด้วย
2.ฝาเรือนเป็นไม้กระดานตีเกล็ดในแนวนอน เพื่อลดแรงต้านของลม
3.เป็นเรือนใต้ถุนสูงเสาบ้านไม่ฝังลงดินเพราะดินทรุดง่ายจึงใช้วิธีหล่อซีเมนต์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าเสาปกติความสูงประมาณ 3 ฟุตเพื่อวางเสาเรียกว่า"ตีนเสา"นอกจากนี้ยังป้องกันปลวกและเชื้อราด้วย
4. ลักษณะพิเศษ เรือนภาคใต้สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในพื้นที่อื่น ๆ ได้โดย ไม่ต้องรื้อ หรือถอดส่วนประกอบของเรือนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น