วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

การนับและการเทียบศักราชไทยและสากล

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย 1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” 2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้ ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ. พ.ศ. - ๒๓๒๔ = ร.ศ. จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ. พ.ศ. - ๑๑๘๑ = จ.ศ. ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. - ๖๒๑ = ม.ศ. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล - แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ - แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ - แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง - แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ - แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่องมือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์ เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ยุคหินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูดแต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน 2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม - สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒ - สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖ - สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐ - สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕ - สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน การเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย ประวัติศาสตร์สากล ประวัติศาสตร์ไทย สมัยโบราณ - อารยธรรมเมโสโปเตเมีย - อารยธรรมอียิปต์ - อารยธรรมกรีก - อารยธรรมโรมัน สิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙) สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย - อาณาจักรลังกาสุกะ - อาณาจักรทวารวดี - อาณาจักรโยนกเชียงแสน - อาณาจักรตามพรลิงค์ สมัยกลาง - จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.๑๔๕๓ - การสร้างอาณาจักรคริสเตียน - การปกครองในระบบฟิวดัล - การฟื้นฟูเมืองและการค้า - การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ - การค้นพบทวีปอเมริกา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยใหม่ - การสำรวจทางทะเล - การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ - การปฏิวัติอุตสาหกรรม - การปฏิวัติฝรั่งเศส - สงครามโลกครั้งที่ 1-2 - สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945 สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย – ปัจจุบัน - ยุคสงครามเย็น - ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ - ปัจจุบัน) ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา ๑. ประวัติศาสตร์สากล เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ๒. ประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศ อยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น